บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2556
ครั้งที่ 2 เวลาเข้าสอน 08.30 น. เวลาเข้าเรียน 08.30 น. เวลาเลิกเรียน 11.30 น.
ความรู้ที่ได้ในวันนี้
ความหมายของภาษา
ภาษา คือ การสื่อความหมาย เป็นเครื่องมือในการแสดงความคิดเห็นและความรู้สึก การสื่อสารทางภาษาไม่ใช่แต่การพูดหรือเขียนเท่านั้นอาจจะเป็นภาพ
ความสำคัญของภาษา
1. ภาษาเป็นเครื่องมือใช้ในการติดต่อสื่อสาร
2. ภาษาเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
3. ภาษาเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน
4. ภาษาเป็นเครื่องมือช่วยจรรโลงจิตใจ
- ทฤษฎีพัฒนาการทางด้านสติปัญญา (Piaget) การที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาการทางภาษาและสติปัญญา
- กระบวนการเรีบนรู้ 2 กระบวนการ คือ
1. การดูดซึม ( Assimilation ) เป็นกระบวนการที่เด็กได้รู้และดูดซึมภาพต่างๆจากสิ่งแวดล้อมด้วยประสบการณ์ของตนเอง
2. การปรับความเข้าใจเดิมให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ ( Accommodation ) เป็นกระบวนการที่เกิดควบคู่ไปกับการดูดซึม โดยการปรับความรู้สึกเดิมให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมหรือประสบการณ์ใหม่ที่ได้รับ
เพียเจต์ แบ่งพัฒนาการด้านสติปัญญามีความสัมพันธ์กับภาษา
1. ขั้นพัฒนาด้านประสาทสัมผัส ( Sensorimotor stage ) แรกเกิด - 2 ปี
เด็กเรียนรู้จากประสาทสัมผัสต่างๆ เด็กเรียนรู้คำศัพท์จากกสิ่งแวดล้อม บุคคลรอบตัว เด็กสนใจสิ่งรอบตัวก่อนที่จะเรียนรู้ภาษา
2. ขุั้นเตรียมความคิดที่มีเหตุ ( Preoperational stage )
2.1 อายุ 2-4 ปี (Preconceptual period ) เด็กเริ่มใช้ภาษาและสัญลักษณ์ในการสื่อสาร เล่นบทบาทสมมติ การเล่าเรื่อง แสดงความรู้สึกผ่านสีหน้า ภาษาของเด็กมีลักษณะยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง
2.2 อายุ 4-7 ปี ( lntuitive period ) .ใช้ภาษาได้ดีกับคนรอบข้าง ให้ความสนใจกับสิ่งที่เป็นนามธรรมบ้าง ยังยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง รู้จักสร้างมโนทัศน์โดยอาศัยการภาษาจัดกลุ่มวัตถุ
3. ขั้นการคิดรูปธรรม ( Concrete Operational stage ) อายุ 7-11 ปี เด็กสามารถแก้ปัญหาได้ด้วยใช้เหตุผล เป็นรูปธรรม
4. ขั้นการคิดแบบนามธรรม ( Formal Operational stage ) อายุ 11-15 ปี เด็กคิดด้วยเหตุผลอย่างเป็นระบบ ใช้เหตุผลแก้ปัญหา เข้าใจกฎเกณฑ์ของสังคม
- พัฒนาการภาษาของเด็ก เด็กจะค่อยๆสร้างความรู้ความเข้าใจเป็นลำดับ ครูหรือผู้สอนต้องมีความเข้าใจหรือยอมรับหากเด็กใช้คำศัพท์หรือไวยากรณ์ไม่ถูกต้อง ควรมองว่าเป็นกระบวนการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
- จิตวิทยาการเรียนรู้
1. ความพร้อม วินัย ความสามารถ และประสบการณ์เดิมของเด็ก
2. ความแตกต่างระหว่างบุคคล อิทธิพลทางพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม
3. การจำ การเห็นบ่อยๆ การทบทวนเป็นระยะ การจัดเป็นหมวดหมู่ การใช้คำสัมผัส
4. การใช้แรงเสริมทางบวกและแรงเสริมทางลบ